กระแสไฟฟ้า (Ampere : A) คือ ค่าของจำนวนประจุไฟฟ้าที่ไหลผ่านจุดๆหนึ่งต่อหน่วยเวลา หรือเรียกง่ายๆว่า การไหลของกระแสไฟฟ้าจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่งในวงจรไฟฟ้า
ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC) คือ การไหลของกระแสไฟฟ้าไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หรือจากขั้วไฟฟ้าขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง
ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current : AC) คือ การไหลของกระแสไฟฟ้าที่มีการสลับไปมาระหว่างขั้วบวกและขั้วลบในวงจรไฟฟ้า กล่าวคือ ในช่วงเวลาหนึ่ง การไหลของกระแสไฟฟ้าจากขั้วบวกไปขั้วลบ และในอีกช่วงเวลาหบึ่งจะมีการไหลของกระแสไฟฟ้าจากขั้วลบไปขั้วบวก
แรงดันไฟฟ้า (Voltage : V) คือ ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า วัดระหว่างจุดใดๆ 2 จุด หรือขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว ในวงจรไฟฟ้า ซึ่งถ้าหากมีค่ามาก ก็จะมีการไหลของกระแสที่ดีหรือมีแรงส่ง แรงผลักดันให้กระแสไหลได้ดี บางทีอาจเรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้า
ไฟฟ้าเฟสเดียว (Single Phase : 1ph) คือ ลักษณะของไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าที่มีคลื่นของไฟฟ้ากระแสสลับลูกเดียวในรอบ 360' ในประเทศไทยจะเป็นไฟเฟสเดียว 220 โวลต์ (V)
ไฟฟ้าสามเฟส (Tree Phase : 3ph) คือ ลักษณะของไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าที่มีคลื่นของไฟฟ้ากระแสสลับสามลูกในรอบ 360' ในประเทศไทยจะเป็นไฟสามเฟส 380 โวลต์ (V)
การแปลงหรือการกรองกระแส (Rectified) คือ ไฟฟ้ากระแสตรงจะได้จากการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ โดยผ่านวงจรเร็คติไฟต์ (Rectified Circuit) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็คทรอนิคที่มีชิ้นส่วนพื้นฐานคือ ตัวไดโอด (Diode) เป็นกลไกสำคัญ โดยตัวไดโอดนี้เอง มีคุณสมบัติให้ไฟฟ้าผ่านทางเดียว
ความถี่ (Frequency) คือ จำนวนรอบของลูกคลื่นที่มีการสลับ บวก ลบ ไปมาในไฟฟ้ากระแสสลับต่อหน่วยเวลา โดยที่มีความถี่เป็นหน่วยเป็น เฮิร์ทซ (Hertz:Hz)
กิโลวัตต์ (KW) คือ ค่าของพลังงานที่ใช้งานจริงๆ โดยเครื่องเชื่อม เพื่อให้ได้ค่าของกระแสและแรงดันไฟฟ้าที่ต้องการ ซึ่งจะเป็นตัวสำคัญที่กำหนดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่าย ซึ่งคำนวณได้จากค่าของผลคูณของแรงดัน กระแสไฟฟ้าขาเข้าและค่า Power Factor ที่ถูกต้อง หรือวัดจริงได้จากมิเตอร์วัด KW
กิโลโวลต์-แอมป์ (KVA) คือ ค่าผลคูณของแรงดันกับกระแสไฟฟ้า หากด้วย 1,000 ซึ่งในการใช้งานเครื่องจริง เครื่องจะใช้พลังงานคือ KVA ไม่ใช่ KW ในการคิดค่าไฟ จะมีการคิดค่าปรับจากการไฟฟ้า เนื่องจากค่านี้ด้วย
ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor) คือ ค่าของ KW/KVA ซึ่งหมายถึงประสิทธิภาพของเครื่อง หากมีมากก็จะดี นั่นหมายถึง การสูญเสียพลังงานน้อยกว่า
Duty Cycle เป็นค่าบอกระยะเวลาที่เครื่องเชื่อมสามารถทำงานได้ภายใต้ กระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้า ที่กำหนด โดยไม่เกิดความเสียหายแก่เครื่องเชื่อม ค่านี้จะบอกเป็นเปอร์เซนต์ โดยที่ 100% เปรียบเทียบเป็น 10 นาที เช่น เครื่องเชื่อม 350 แอมป์ 50% duty cycle ที่ 36โวลต์ หมายถึง เครื่องเชื่อมสามารถทำงานเชื่อมต่อเนื่องได้นาน 5 นาที และพัก 5 นาที ภายใต้กระแสไฟที่ใช้เชื่อม 350แอมป์ ที่แรงดัน 36 โวลต์
ระบบไฟฟ้ากระแสคงที่ (Constant Current : CC) คือ ระบบของเครื่องเชื่อมที่ต้องการให้กระแสในการเชื่อมคงที่ ไม่ว่าแรงดันจะมีการเปลี่ยนแปลงเท่าใดก็ตาม เหมาะกับการเชื่อม MMA และ TIG
ระบบไฟฟ้าแรงดันคงที่ (Constant Voltage : CV) คือ ระบบของเครื่องเชื่อมที่ต้องการให้แรงดันในการเชื่อมคงที่ ไม่ว่าแรงดันจะมีการเปลี่ยนแปลงเท่าใดก็ตาม เหมาะกับการเชื่อม MIG
ระบบไฟฟ้าในงานเชื่อม
กระแสตรงขั้วตรง (Direct Current Straight Polarity ; DCSP or DC Electrode Negative; DCEN or DC-) คือ การต่อขั้วลบเข้ากับหัวเชื่อม และขั้วบวกต่อเข้ากับชิ้นงาน ซึ่งกระแสตรงขั้วตรงนี้ ความร้อนจะเกิดขึ้นที่ชิ้นงานมากกว่าที่หัวเชื่อม และการซึมลึกจะสูง
กระแสตรงขั้วกลับ (Direct Current Reverse Polarity ; DCRP or DC Electrode Positive; DCEP or DC+) คือ การต่อขั้วบวกเข้ากับหัวเชื่อม และขั้วลบต่อเข้ากับชิ้นงาน ซึ่งกระแสตรงขั้วกลับนี้ ความร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณชิ้นงานจะน้อยกว่า ทำให้การซึมลึกจะน้อย
กระแสสลับ (Alternating Current : AC) คือ การต่อที่ไม่สนใจขั้วไฟฟ้า สามารถต่อขั้วไหนกับชิ้นงานหรือหัวเชื่อมก็ได้
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Tel.089-816-8548, 092-545-5588 Email: sales@craftskill.co Line ID: @craftskill
Comments