ปัจจุบัน สเตนเลส นิยมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งกระบวนการเชื่อม-ตัดหรือประกอบขึ้นรูปชิ้นงานสเตนเลส จึงมีความสำคัญ และจำเป็นต้องมีความรู้และเทคนิคในการทำงานอย่างถูกต้อง
CS Team จึงเล็งเห็นความสำคัญ และนำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเชื่อมสเตนเลส เพื่อให้ประโยขน์คุ้มค่าสูงสุดแก่ลูกค้าของเรา
การเชื่อมสเตนเลส
จากบทความ ความรู้เกี่ยวกับสแตนเลส ทำให้เรารู้ว่า ชนิดของสเตนเลสมีอยู่หลากหลายชนิด โดยปกติ จะมีส่วนผสมของโครเมี่ยม อย่างน้อย 10.5% ทำให้การหลอมละลายสแตนเลสจะเกิดออกไซด์อย่างรวดเร็ว หากไม่มีการป้องกันแก๊สออกซิเจนจากอากาศในขณะทำการเชื่อม จะเกิดการสูญเสียปริมาณโครเมี่ยมและก่อให้เกิดออกไซด์ มีผลทำให้ชิ้นงานขาดความสมบูรณ์ในการเชื่อมและลดความต้นทานการกัดกร่อนในแนวเชื่อม ซึ่งการปกป้องแก๊สออกซิเจนจะต้องทำระหว่างการเชื่อม หรือกำจัดการเกิดออกซิเดชั่นที่ผิวแนวเชื่อมและบริเวณใกล้เคียงให้ได้
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเชื่อมสเตนเลส
เกรดของสแตนเลส การเชื่อมโลหะทุกชนิด จำเป็นต้องรู้เกรดของโลหะที่จะทำการเชื่อม โค๊ด สัญลักษณ์ หรือเกรดที่ระบุอยู่บนโลหะชิ้นงานนั้น หรือใบรับรอง Certificate ซึ่งจะระบุส่วนผสมของโลหะนั้นๆ
ลวดเชื่อม ควรเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมหรือเข้ากันได้กับเกรดของชิ้นงานโลหะที่จะทำการเชื่อม
กระบวนการเชื่อม เลือกกระบวนการเชื่อมที่เหมาะสม เช่น การเชื่อมชิ้นงานบาง อาจต้องใช้กระบวนการเชื่อมทิก หรือเชื่อมอาร์กอน ซึ่งจะถ่ายเทความร้อนลงไปที่ชิ้นงานเป็นบริเวณแคบ เพื่อลดการเสียรูปหรือการบิด โก่งงอ ในชิ้นงาน
ข้อควรระวัง ควรศึกษาข้อกำหนด คำเตือน และข้อพึงระวังต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลหะ หรือเทคนิคการเชื่อมต่างๆ ซึ่งคุณลูกค้าสามารถปรึกษาเทคนิคการเชื่อมได้ที่ ฝ่ายเทคนิคของบริษัทฯ โทร.0-2894-1750 (อัตโนมัติ) โดยแจ้งชื่อหน่วยงานของท่าน และรุ่นของเครื่องเชื่อมที่มีการสั่งซื้อ เพื่อความสะดวกในการให้บริการอย่างรวดเร็ว
การเลือกกระบวนการเชื่อม
การเลือกกระบวนการเชื่อมที่ถูกต้องและเหมาะสมกับชิ้นงาน ขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ ดังนี้
ความหนาของชิ้นงานเชื่อม
ตำแหน่ง ลักษณะและทิศทางการเชื่อม ท่าเชื่อม
บริเวณสถานที่ที่จะทำการเชื่อมและขนาดของชิ้นงาน เช่น ภายในอาคาร นอกอาคาร ขึ้นที่สูง ความกว้างยาวของชิ้นงานเชื่อม ฯลฯ
ปริมาณจำนวนของชิ้นงาน หรือ ปริมาณการเชื่อมในจุดต่างๆ
เครื่องเชื่อมและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเชื่อม เช่น อุปกรณ์การจับชิ้นงาน อุปกรณ์การหมุนชิ้นงาน เครื่องช่วยเชื่อม เครื่องเชื่อม ต้องเหมาะสมกับกระบวนการเชื่อมและชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม
พื้นฐาน ทักษะ ความเชี่ยวชาญ และฝีมือของช่างเชื่อม ต่อกระบวนการเชื่อมนั้นๆ
กระบวนการเชื่อมที่มักจะนำไปใช้ในการเชื่อมสแตนเลส
การเชื่อมแบบอาร์คไฟฟ้า หรือเชื่อมธูปไฟฟ้า (MMAW/SMAW)
การเชื่อมแบบทิก หรือเชื่อมอาร์กอน (TIG/GTAW)
การเชื่อมแบบมิก-แม็ก หรือเชื่อมซีโอทู (MIG-MAG/GMAW)
การเชื่อมแบบฟลั๊กซ์คอร์ (FCAW)
การทำความสะอาดและการปิดผิวชิ้นงานหลังการเชื่อม
เมื่อเชื่อมชิ้นงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คงหนีไม่พ้นเรื่องของรอยเชื่อม คราบแนวเชื่อม ซึ่งเกิดจากความร้อนในการเชื่อมด้านข้างแนวเชื่อมและด้านหลังของแนวเชื่อม คราบออกไซด์ที่เกิดจากการทำงานเชื่อมหรือตัด รวมถึงคราบสกปรกและสารปนเปื้อนต่างๆ ซึ่งต้องทำการขจัดเอาคราบต่างๆเหล่านี้ออกไป
วิธีการทำความสะอาดหลังการเชื่อม นอกจากการขัดคราบออกไซด์ออกด้วยแปรงลวดสแตนเลส หรือการขัดเจียร ตกแต่งด้วยใบเจียร จานทราย ล้อทราย หรือลูกขัดสก๊อตไบร์ท แล้ว ยังนิยมใช้น้ำยาเคมีภัณฑ์ล้างแนวเชื่อมสแตนเลส ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในการขจัดคราบออกไซด์หรือเรียกว่าการทำพิคคลิง (pickling) หรือน้ำยาล้างผิวชิ้นงานสแตนเลสในรูปแบบต่างๆ
หลังจากนั้น ใช้วิธีปกป้องผิวชิ้นงานจากคราบสกปรกหรือรอยนิ้วมือด้วย พีวีซีป้องกันรอยขีดข่วน PE Protective Tape Film อีกครั้ง เพื่อให้จบกระบวนการทำงานอย่างสมบูรณ์
หากต้องการคำแนะนำหรือคำปรึกษาเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายเทคนิคของบริษัทฯ โทร.089-206-0299 และเพื่อความสะดวกในการให้บริการอย่างรวดเร็ว กรุณาแจ้งชื่อและหน่วยงานของท่าน และรุ่นของเครื่องเชื่อมที่มีการสั่งซื้อ เจ้าหน้าที่จะทำการแนะนำด้านเทคนิคให้ท่านทำงานเชื่อมได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการใช้งาน
Comments